Journal of Business Administration [วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์]

Journal of Business Administration

TBS

Current Location : Home   Publication Ethics

Search in Website:
Home

Publication Ethics

Ethics, Roles and Duties of Related Persons


Roles and Duties of Author(s) 

  1. The author must submit articles that do not plagiarize in whole or in part from the content of others' articles. Submitted articles must never have been published or be under consideration for publication in another journal. Copyright infringement is the direct responsibility of the article author.
  2. The author of the article is willing to revise and improve the format and quality of the article to be correct and appropriate according to the initial recommendations from the editorial board before entering the consideration process in the process of two to three experts (reviewers) evaluating the article in the next order.
  3. In the case that the author is unable to return the revised article on time. The author should communicate their reasons to the editor (by email) immediately before the deadline. In order for the editorial board to consider extending additional time in OJS system as appropriate (as the case may be). Otherwise, the article will be rejected and proceed to the next step.
  4. The author of the article must provide proper document references and indicate the source of complete and accurate information at the end of the article. Citations should strictly follow the formatting specified by the editorial board.
  5. Comments appearing in the content of articles in the Journal of Business Administration are considered the direct opinions and responsibility of the author of such articles, not the opinion and responsibility of the editorial board or Thammasat Business School, Thammasat University.
  6. In the case that the author's article has been accepted for publication, the author is willing to check the accuracy of the format and content of the article, which will be sent to the author for final revision before the process of publishing it on the journal website and publishing it as a journal booklet.
  7. The author of the article must acknowledge and accept the terms and policies for the publication of articles in the Journal of Business Administration.
  8. The author of the article should be aware that articles, information, content, images, etc., published in the Journal of Business Administration are the exclusive copyright of the Thammasat Business School, Thammasat University, and not the copyright of the author of the article in any way.

 

Roles and Duties of Editor

  1. The editor determines whether the original submission of the article is appropriate and consistent with the aim and scope of the Journal of Business Administration. If the content of the article is inappropriate according to the journal, the editor must promptly notify the author to submit the article for consideration in other relevant journals.
  2. The editor submits the manuscript to the journal's editorial board to help determine the preliminary quality of the submitted article and whether it is at an appropriate level to be forwarded to two or three experts (reviewers) for evaluation.
  3. If the editor is uncertain about the content and basic quality of the article or any subject matter, they must not immediately reject such articles with prejudice and may seek additional opinions from the editorial board with specific expertise on the content of such articles.
  4. The editor and/or editorial board select qualified individuals to evaluate articles in various fields. The name and institution of the person evaluating the article or the author of the article shall not be disclosed to the other party, including any other person who is not involved.
  5. When there is a significant contradiction in the opinions and suggestions of the two or three experts evaluating the article, the editor decides on the next steps for the article, primarily based on the recommendation of any expert evaluator or based on a two-thirds majority recommendation of the expert evaluators. In some cases, the editorial board may make the decision to assign the editor to make the final decision as she deems appropriate.
  6. Editors allocate articles that have passed the article quality assessment process and are ready for publication based on criteria such as queuing, the interestingness or diversity of the content, and other suitability reasons.
  7. In the case that there is a significant reason that the author's article may not be used in a particular issue of the Journal of Business Administration as specified in the letter of acceptance, the editor reserves the right to remove such articles. The editor shall always notify the author of such articles in advance.
  8. The editor must manage the journal's operations impartially and fairly without interference from other person or organizations that are not related, both inside and outside Thammasat University.
  9. The editor controls and gives priority to the layout design of each issue of the journal. Including publishing on the journal website to be accurate, complete and issued strictly on time. (quaterly)

 

Roles and Duties of Reviewer

  1. The reviewer is responsible for reading and considering the accuracy and interest of the article content with an impartial mind and without bias. They should assess the benefits that the article will provide to readers and provide feedback, suggestions, and solutions to improve the article constructively and empirically.
  2. When the reviewer is approached to evaluate an article, they should respond promptly (or reject the approach) and avoid ignoring any response (accept or reject) to the editor or editorial board.
  3. Given the in-depth nature of the current article content in specific areas, reviewers should accept the assessment of articles in their area of expertise to allow for an intensive and comprehensive evaluation. If they find that they may not have sufficient content expertise to critically review the article for quality, they should notify the editors or editorial board of their refusal to evaluate the article.
  4. When the reviewer realizes that they cannot submit the evaluation of the article on time as specified by the editorial board, they should promptly notify the editor or editorial board and provide a new deadline for returning article feedback.
  5. The reviewer should not ask the editors, editorial board, or seek information (from any source) about the author of the article for which they have accepted the quality assessment, such as the author(s) name, surname, affiliation, institution etc.
  6. After evaluating the article and receiving feedback in round 1, once the author has made necessary revisions and improvements to the article, along with providing explanations and clarifications (to the two to three reviewers), they should submit it for further consideration. The editorial board may request their understanding in the evaluation of round 2, where each reviewer will assess the revisions made to the article based on their own suggestions. Once the evaluation process is complete, the reviewers should communicate their final decision to the editorial board. This decision could include accepting the article for publication, rejecting it, or providing additional recommendations for further revisions in round 2 (or subsequent rounds like round 3, 4) as needed.

     

จริยธรรมและบทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง

บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียนบทความ (Duties of Author(s))

  1. ผู้เขียนบทความต้องส่งบทความที่ไม่มีการคัดลอกผลงานทั้งส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดจากเนื้อหาบทความของผู้อื่น รวมถึงบทความที่ส่งจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่น การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง
  2. ผู้เขียนบทความยินดีแก้ไขปรับปรุงรูปแบบและคุณภาพของบทความ ให้ถูกต้องและเหมาะสมตามข้อเสนอแนะเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการฯ ก่อนเข้าสู่กระบวนการพิจารณาในขั้นตอนของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความจำนวน 2-3 ท่าน ในลำดับต่อไป
  3. ในกรณีที่ผู้เขียนบทความไม่สามารถส่งคืนบทความที่แก้ไขได้ทันตามกำหนดเวลา ผู้เขียนบทความควรรีบแจ้งเหตุผลให้บรรณาธิการ (ทางอีเมล์) ได้ทราบทันทีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าว เพื่อให้กองบรรณาธิการพิจารณาขยายเวลาเพิ่มเติมในระบบประเมินออนไลน์ให้ตามความเหมาะสม (แล้วแต่กรณี) มิฉะนั้น บทความนั้น ๆ จะถูกปฏิเสธการดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
  4. ผู้เขียนบทความต้องมีการอ้างอิงเอกสาร ผลงานทางวิชาการ ฯลฯ โดยระบุแหล่งที่มาของข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องไว้ในตอนท้ายของบทความเสมอ โดยจัดรูปแบบการอ้างอิงตามที่กองบรรณาธิการฯ ได้กำหนดไว้ อย่างเคร่งครัด
  5. ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่าง ๆ ในวารสารบริหารธุรกิจ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้น ๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของกองบรรณาธิการฯ และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่อย่างใด
  6. ในกรณีที่บทความของผู้เขียนบทความได้รับการตอบรับการตีพิมพ์เผยแพร่ ผู้เขียนบทความยินดีตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยของรูปแบบและเนื้อหาบทความ ซึ่งกองบรรณาธิการฯ จะจัดส่งให้ผู้เขียนบทความได้พิจารณาแก้ไขปรับปรุงรอบสุดท้าย ก่อนขั้นตอนของการเผยแพร่ทางเว็บไซต์วารสาร และการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มวารสารต่อไป
  7. ผู้เขียนบทความต้องรับทราบและยอมรับถึงข้อกําหนด และนโยบายในการรับพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่บทความจากวารสารบริหารธุรกิจ เป็นอย่างดีแล้ว
  8. ผู้เขียนบทความพึงทราบว่า บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารบริหารธุรกิจ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มิใช่เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนบทความแต่อย่างใด

 

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสารบริหารธุรกิจ (Duties of Editor)

  1. บรรณาธิการเป็นผู้พิจารณาว่า ต้นฉบับบทความที่ส่งเข้ามานั้น มีความเหมาะสม สอดคล้องตรงกับวัตถุประสงค์และขอบเขต (Aim and Scope) ของวารสารบริหารธุรกิจหรือไม่ ในกรณีที่เนื้อหาบทความไม่เหมาะสม สอดคล้องกับวารสารฯ บรรณาธิการต้องรีบแจ้งให้ผู้เขียนบทความได้รับทราบ เพื่อให้ส่งบทความไปพิจารณาในวารสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
  2. บรรณาธิการเป็นผู้ส่งต้นฉบับบทความให้กองบรรณาธิการวารสาร เพื่อช่วยพิจารณาคุณภาพเบื้องต้นของบทความที่ส่งเข้ามา ว่าอยู่ในระดับเหมาะสมที่จะส่งต่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความจำนวน 2 หรือ 3 ท่าน อ่านพิจารณาในขั้นตอนต่อไปหรือไม่
  3. หากบรรณาธิการไม่แน่ใจเกี่ยวกับเนื้อหาและคุณภาพเบื้องต้นของบทความเรื่องใด ๆ บรรณาธิการต้องไม่พิจารณาปฏิเสธบทความเรื่องนั้น ๆ ทันทีด้วยใจอคติ โดยอาจพิจารณาขอความเห็นเพิ่มเติมจากกองบรรณาธิการฯ ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเกี่ยวกับเนื้อหาบทความนั้น ๆ ก่อนเสมอ
  4. บรรณาธิการและ/หรือกองบรรณาธิการฯ เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความที่มีความเหมาะสมและเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ในการประเมินบทความเรื่องนั้น ๆ โดยจะไม่เปิดเผยชื่อและสถาบันของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความหรือผู้เขียนบทความให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ทราบโดยเด็ดขาด รวมทั้งบุคคลอื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
  5. เมื่อเกิดกรณีที่ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความทั้ง 2 หรือ 3 ท่าน มีความขัดแย้งกันอย่างมีนัยสำคัญ บรรณาธิการจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะดำเนินการในขั้นตอนถัดไปกับบทความเรื่องนั้น ๆ อย่างไรต่อไป เช่น อิงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความท่านใดท่านหนึ่งเป็นสำคัญ หรืออิงตามข้อเสนอแนะเสียงข้างมาก 2 ใน 3 ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความเป็นสำคัญ โดยในบางกรณี กองบรรณาธิการอาจจะมีมติมอบหมายให้บรรณาธิการเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายได้ตามที่เห็นสมควร
  6. บรรณาธิการเป็นผู้จัดสรรบทความที่ผ่านกระบวนการประเมินคุณภาพบทความและอยู่ในสถานะพร้อมตีพิมพ์เผยแพร่ โดยจะพิจารณาจากเหตุผลหลักคือ ลำดับก่อนหน้าของการส่งบทความ (Queqe) และความน่าสนใจ/ความหลากหลายของเนื้อหาบทความ (Content) รวมถึงเหตุผลในด้านความเหมาะสมอื่น ๆ (Suitability) เป็นสำคัญ
  7. ในกรณีที่มีเหตุผลสำคัญ ที่อาจจะไม่นำบทความของผู้เขียนบทความเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารบริหารธุรกิจ ในฉบับที่ตามที่ระบุในหนังสือตอบรับให้ได้นั้น บรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความดังกล่าว ลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารบริหารธุรกิจ ในฉบับต่อ ๆ ไป ตามที่เห็นสมควร โดยบรรณาธิการจะต้องแจ้งให้ผู้เขียนบทความเรื่องนั้น ๆ ได้รับทราบล่วงหน้าก่อนเสมอ
  8. บรรณาธิการจะต้องบริหารจัดการการดำเนินงานของวารสารด้วยความเป็นกลางและยุติธรรม โดยปราศจากการถูกแทรกแซงจากบุคคลหรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  9. บรรณาธิการเป็นผู้ควบคุมและให้ความสำคัญต่อการออกแบบจัดหน้าตัวเล่มของวารสารในแต่ละฉบับ รวมถึงการเผยแพร่ทางเว็บไซต์วารสาร ให้มีความถูกต้อง สมบูรณ์ และออกตรงตามกำหนดเวลาอย่างเคร่งครัด (รายไตรมาส)

 

บทบาทและหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Duties of Reviewer)

  1. ผู้ประเมินบทความมีหน้าที่อ่านพิจารณาความถูกต้องและความน่าสนใจของเนื้อหาบทความ ด้วยใจเป็นกลางและปราศจากอคติ ตลอดจนประโยชน์ที่ผู้อ่านบทความจะได้รับ และพร้อมจะให้คำติชม ข้อเสนอแนะ และแนวทางแก้ไขปรับปรุงบทความที่สร้างสรรค์และชัดเจนในเชิงประจักษ์
  2. เมื่อผู้ประเมินบทความได้รับการทาบทามในการขอความอนุเคราะห์ช่วยประเมินบทความจากกองบรรณาธิการฯ ผู้ประเมินบทความควรรีบตอบรับการทาบทาม (หรือปฏิเสธการทาบทาม) ด้วยความรวดเร็ว พึงระลึกเสมอว่า ไม่ควรเพิกเฉย ด้วยการไม่แจ้งตอบกลับใด ๆ (ตอบรับหรือปฏิเสธ) ให้บรรณาธิการหรือกองบรรณาธิการฯ ได้ทราบ
  3. เนื่องจากเนื้อหาบทความในปัจจุบันมีความลึกซึ้งเฉพาะด้านมากยิ่งขึ้น ผู้ประเมินบทความควรตอบรับประเมินบทความที่มีเนื้อหาในข่ายที่ตนมีความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะทำให้การประเมินบทความและการให้ข้อเสนอแนะทำได้อย่างเข้มข้นและเต็มกำลังความสามารถ เมื่อพบว่าตนอาจไม่มีความเชี่ยวชาญเนื้อหาในระดับที่มากพอจะวิจารณ์บทความเรื่องนั้น ๆ ได้อย่างมีคุณภาพ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งปฏิเสธการประเมินบทความให้บรรณาธิการหรือกองบรรณาธิการฯ ได้ทราบ
  4. เมื่อผู้ประเมินบทความทราบว่า ไม่สามารถส่งข้อเสนอแนะบทความได้ทันตามเวลาตามที่กองบรรณาธิการฯ ได้กำหนดไว้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการหรือกองบรรณาธิการฯ ได้ทราบ พร้อมทั้งควรแจ้งกำหนดเวลาใหม่ในการจะส่งคืนข้อเสนอแนะบทความ
  5. ผู้ประเมินบทความ ไม่ควรสอบถามมายังบรรณาธิการหรือกองบรรณาธิการฯ หรือพยายามเสาะหาข้อมูล (ไม่ว่าจากแหล่งที่มาใด ๆ) เกี่ยวกับผู้เขียนบทความเรื่องที่ตนได้ตอบรับการอ่านประเมินพิจารณาคุณภาพ เช่น ชื่อ นามสกุล สังกัด สถาบัน ฯลฯ ของผู้เขียนบทความ  
  6. ภายหลังจากการประเมินบทความและให้ข้อเสนอแนะในรอบที่ 1 เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว เมื่อผู้เขียนบทความได้แก้ไขปรับปรุงบทความ พร้อมเหตุผลและคำชี้แจง (จากผู้ประเมินบทความทั้ง 2-3 ท่าน) กลับมาเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง กองบรรณาธิการฯ จะขอความอนุเคราะห์ในการประเมินบทความรอบที่ 2 ซึ่งผู้ประเมินบทความแต่ละท่านจะเป็นผู้พิจารณาการแก้ไขปรับปรุงบทความดังกล่าว (เฉพาะในส่วนของตน) เมื่อพิจารณาแล้วเสร็จ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งผลการพิจารณาสุดท้ายให้กองบรรณาธิการฯ ได้รับทราบต่อไป เช่น แจ้งเห็นควรตอบรับการตีพิมพ์เผยแพร่ หรือแจ้งปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ หรือแจ้งข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการแก้ไขปรับปรุงในรอบที่ 2 (หรือรอบที่ 3, 4) ต่อไป 
  7. The reviewer should not ask the editors, editorial board, or seek information (from any source) about the author of the article for which they have accepted the quality assessment, such as the author(s) name, surname, affiliation, institution etc.


กรุณาดำเนินการสมัครสมาชิก เพื่อรับตัวเล่มวารสารฯ คลิ๊กที่นี่

Send to Friend